วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ตอบคำถามท้ายบท

1. สุนทรียศาสตร์จัดอยู่ในปรัชญาสาขาใด
ตอบ จัดอยู่ในปรัชญาสาขา Axiology เป็นวิชาที่ว่าด้วยคุณค่าต่างๆ ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง และมนุษย์เข้าใจซาบซึ้งถึงคุณค่านั้น ด้วยกระบวนการทางญาณวิทยาคุณค่าที่กำหนดให้ศึกษาในวิชาปรัชญานี้มี 4 ประการ คือ 1. ความดี (จริยศาสตร์) 2. ความงาม ( สุนทรียศาสตร์)
3. ความจริง (ตรรกวิทยา)และ 4. ความบริสุทธิ์ของจิตใจ ( เทววิทยา)

2.สุนทรียศาสตร์กับจริยศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าความงามตรงกับคำว่า Aesthetic หมายถึง การรับรู้อันเป็นกระบวนการ ประสาทสัมผัส ระหว่างสิ่งเร้าภายนอกกับอวัยวะสัมผัสภายในทำให้เกิดความรู้สึก นำไปสู่อารมณ์สุนทรีย์จริยศาสตร์ Ethics เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา ศึกษาเรื่องความประพฤติที่เกี่ยวข้อง สิ่งใดถูกหรือผิด สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำเน้นคุณค่าของพฤติกรรม คุณค่าของชีวิต

3.ความงามตามทัศนะของท่านหมายถึงอะไร
ตอบ ความงามแนวคิดของปรัชญาความงาม คือ คุณค่าอย่างหนึ่งของสิ่งเร้าที่มากระทบอวัยวะสัมผัสของมนุษย์อาจจะเห็นเป็นรูปรส กลิ่น เสียง กายสัมผัส แล้วก่อให้เกิดอารมณ์ ความพึงพอใจ ให้เป็นสุข ความงามเกี่ยวข้องกับอารมณ์มากกว่าเหตุผลความงามตามทัศนนะของข้าพเจ้า คือ ความงามตามธรรมชาติที่มีต่อวัตถุ สิ่งของ เช่น ที่มนุษย์ขึ้น เครื่องประดับ สิ่งของเครื่องใช้ รูปปั้นงานศิลปะที่สวยงามที่มนุษย์สร้างขึ้น ความงามเป็นสิ่งไม่ตายตัว ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับผู้ชมแต่ละคนว่าจะมองความงามในแต่ละด้านอย่างไร

4. สุนทรียธาตุคืออะไรมีความหมายครอบคลุมอะไรบ้าง
ตอบ สุนทรียธาตุ คือ ธาตุแห่งความงาม แบ่งออก เป็น 3 ชนิด คือ 1. ความงาม(Beauty)2. ความแปลกหูแปลกตา(Picture squeness) 3. ความน่าทึ่ง(Sublimity)สุนทรียธาตุ ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของศิลปกรรม และธรรมชาติ รับรู้ด้วยอารมณ์และความรู้สึกให้คุณค่าในทางบวก เช่น ความเพลิดเพลิน สุนทรียธาตุจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือ หรือแนวทางหนึ่งในการแสวงหาความสุขของมนุษย์

5. ท่านมีวิธีตัดสินความงามอย่างไร
ตอบ โดยใช้หลักนักปรัชญา
1. ปรนัยนิยม (Objectivelism) คือ การตัดสินใจโดยยึดหลักมาตรฐานที่อยู่ในสภาวะของ อเทสะเป็นสำคัญ
2. อัตนัยนิยม (Subjectivelism) คือมนุษย์เป็นผู้ตัดสินทุกอย่าง

6.ให้ท่านยกตัวอย่างการตัดสินใจความงามของนักปรัชญา กลุ่มต่างๆมาอย่างน้อย 3 กลุ่ม
ตอบ การตัดสินใจแบบปรนัยนิยม
Plato ความงามมาตรฐาน มีอยู่อย่างปรนัยในโลกแห่งมโนคติ ศิลปินเป็นผู้ระลึกได้ใกล้เคียงมากเป็นพิเศษ
Aristotle ความงามอยู่ที่ความกลมกลืนของสัดส่วน เพราะสัดส่วนทำให้เกิดการผ่อนคลายของประสาท และอวัยวะต่างๆ ความยิ่งใหญ่ของศิลปินอยู่ที่ความสามารถในการค้นพบ ความงามและความกลมกลืน มาถ่ายทอดลงในสื่อการตัดสินแบบอัตนัยนิยม
A. Richarts ศิลปะไม่มีหน้าที่ในการสอบหรือชี้แจง ลักษณะของสิ่งของแต่มีหน้าที่ทำให้ผู้มีประสบการณ์ทางสุนทรียธาตุ มีสุขภาพจิตดี ความงามเป็นสิ่งไม่ต่ยตัวขึ้นอยู่กับคนแต่ละคน
Theodurrlipps and Velman be สุนทรียธาตุเกิดจากการที่ศิลปิน หรือผู้ชมแทรกความรู้สึกของตนไปในศิลปกรรม ศิลปินแต่ละคนจะมีประสบการณ์ ทางสุนทรียะต่างกัน

7. ท่านคิดว่า “คุณค่า” กับ “คุณสมบัติ” เหมือนกันหรือแตกต่างอย่างไร
ตอบ คุณค่าเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้น และมีคุณค่าในตัวมันเอง คุณค่าหมายถึงคุณสมบัติ เช่น ความแข็ง เหลว ร่วน คุณสมบัติย่อมมีลักษณะคุณค่าด้วย ดังนั้นคุณค่ากับคุณสมบัติควรเหมือนกัน

8. คุณค่ามีกี่แบบ และแต่ละแบบมีความสำคัญอย่างไร
ตอบ คุณค่ามี 2 แบบ คือ1. คุณค่าในตัว (Intrinsic value)2. คุณค่านอกตัว ( Extrinsin value )คุณค่าในตัว เราต้องการสิ่งนั้น เพราะตัวของสิ่งนั้นเองมิใช่เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น การมีสุขภาพดี แข็งแรง มีความสุขทางจิตใจ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเองคุณค่านอกตัว เราต้องการสิ่งนั้นมิใช่เพราะตัวสิ่งนั้น แต่เพระสิ่งนั้นเป็นเครื่องมือหรือวิถีทำให้ได้มาซึ่งสิ่งอื่น เช่น ต้องการเงินเพราะเงินสามารถนำไปจับจ่ายซื้อของต่างๆได้ เราต้องการอาหารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ต้องการยาเพื่อรักษาโรคต้องการศึกษา เล่าเรียน เพื่อมีความรู้ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การให้คุณค่าแก่สิ่งต่างๆ ทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ และสิ่งเดียวกัน บางครั้งก็อาจทำให้คุณค่าทั้ง2ประเภท

9. คำว่า "พยาบาล" กับ "ความเป็นพยาบาล" แตกต่างและสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ พยาบาลมีกรอบในการทำงานที่แน่นแน มีเงินเดือน มีหน้าที่ สถานที่ทำงาน ผู้ที่จะประกอบวิชาชีพนี้ต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านการพยาบาล การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย
ความเป็นพยาบาลจะต้องไม่มีสิ่งที่ไม่เจือปน ดูแลหรือช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วยความเมตตากรุณาปราณี เอื้ออาทร โอบอ้อมอารี มีความปารถนาดี ต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่รังเกียจ ไม่ดูถูกดูแคลนให้ความเสมอภาคในการดูแลรักษาผู้ป่วยเท่าเทียมกัน

ไม่มีความคิดเห็น: